วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เวลา 08.30-11.30 น.


เนื้อหาที่เรียน

นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับ การให้ความรู้ผู้ปกครอง

กลุ่มที่ 1 เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง จังหวัดมหาสารคาม



กลุ่มที่ 2 เรื่อง การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์







กลุ่มที่3 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี



กลุ่มที่ 4 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี


กลุ่มที่ 5 เรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนกุ๊กไก่








งานวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
การศึกษาระดับ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัย  เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ปีที่ทำวิจัย พ.ศ. 2554

 ผู้วิจัย สุภาวิณี  ลายบัว


บทนำ
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1 ศึกษาระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และสังคม ด้านสติปัญญา ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ประเด็นที่ 2 ศึกษาระดับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และสังคม ด้านสติปัญญา ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ประเด็นที่ 3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
 เพื่อศึกษาระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา
•เพื่อศึกษาระดับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา
•เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
•ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำข้อมูลมาเป็นข้อมูลในการให้ความรู้เพิ่มเติม หรือจัดกิจกรรม ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างเต็มศักยภาพ
•การวิจัยทำให้ทราบแนวทางในการวางแผน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
•การวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาในการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
1.ขอบเขตด้านประชากร คือ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ระดับชั้น1-2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนในเขต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จำนวน 9 โรงเรียน จำนวนประชากร 1575 คน
2.ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้ศึกษากิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในประเด็กสำคัญได้แก่ การฝึกอบรม การประชุมผู้ปกครอง การให้การปรึกษา ห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง การเยี่ยมบ้าน และศึกษาเรื่องความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4 ด้าน 

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 
 ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น /ตัวจัดกระทำ
1.การฝึกอบรม 2.การประชุมผู้ปกครอง 3.การให้การปรึกษา 4.ห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง 5.การเยี่ยมบ้าน
  ตัวแปรตาม
ความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทางพัฒนาการด้าน ร่างกาย อารมณ์และสังคม สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม

นิยามศัพท์เฉพาะ
•ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง หรือบุคคลใดก็ตามที่ทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู สั่งสอน และเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กปฐมวัย
•การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง หมายถึง การที่โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู พัฒนาการ และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเพื่อช่วยให้ผู้ปกครองเกิดความรู้ความเข้าใจ
•การฝึกอบรม หมายถึง รูปแบบของการให้ความรู้โดยตรงแก่ผู้ปกครอง
•การให้คำปรึกษา หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือและให้การปรึกษาเป็นรายบุคคล
ห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง หมายถึง การจัดห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง ที่ผู้ปกครองใช้ในการค้นหาความรู้
การเยี่ยมบ้าน หมายถึง การพบปะผู้ปกครองหรือการจัดเอกสารถึงบ้าน
ความรู้ของปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย หมายถึง ความรู้ของผู้ปกครองในการปฏิบัติและดูแลเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้สมบูรณ์ใน 4 ด้าน
สถานศึกษา หมายถึง โรงเรียนในเขตอำเภอคลองหลวง 

สมมุติฐานการวิจัย
1. ระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีอยู่ในระดับมาก
2. ระดับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีอยู่ในระดับมาก
3. ระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ระดับชั้นอนุบาล1ถึงอนุบาล2ปีการศึกษา 2553 ในสถานศึกษาเขตอำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานีจำนวน1,575คน โดยถือว่านักเรียน 1 คน มีผู้ปกครอง1 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ระดับชั้นอนุบาล1 ถึงอนุบาล2 ปีการศึกษา2553 ในสถานศึกษาเขตอำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี โดยการใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีผู้เรียนตั้งแต่600 คนขึ้นไป จำนวน 9 โรงเรียน ประกอบด้วย
โรงเรียนวัดครู 2502 โรงเรียนชุมชนวัดบางขัน โรงเรียนคลองหนึ่ง(แก้วนิมิตร) โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง โรงเรียนไทยรัฐวิทยา69(คลองหลวง) โรงเรียนสังข์อ่ำวิทยา โรงเรียนคลองสอง โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บำรุง และโรงเรียนวัดเกิดการอุดม จำนวน306คน ซึ่งได้มาโดยใช้ตารางเครจซีและมอร์แกน(krejcie&morgan,1970:608) จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน(Multistage sampling)ดังนี้
•1. สุ่มแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิแบบสัดส่วน(Stratified Proportienate sampling) โดยแบ่ง ออกเป็นระดับชั้น(strata) คือระดับชั้นอนุบาล1 และอนุบาล2
•2. กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละระดับชั้น โดยการเทียบสัดส่วนจากจำนวนประชากรในแต่ละระดับชั้น
•3. กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละโรงเรียน โดยการเทียบสัดส่วนจากจำนวนประชากรในแต่ละโรงเรียน
•4. กำหนดผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียน โดยการจับฉลาก


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามผู้ปกครองที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้นตามแนวคิดเกี่ยวกับ พัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้วยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร และการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่1 แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วยเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และรายได้ โดยลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ(checklist) ตอนที่2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการ ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น 5 ด้าน การฝึกอบรม การประชุมผู้ปกครอง การให้การปรึกษา ห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง การเยี่ยมบ้าน ในสถานศึกษาเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
การตอบแบบสอบถามตอนที่2 แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) ของลิเคอร์ท(Liker,1970:107-110)มี 5 ระดับ โดยกำหนดค่าแต่ละระดับ ดังนี้
ระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น                            ระดับคะแนน
      มากที่สุด                                              5
      มาก                                                     4
      ปานกลาง                                             3
      น้อย                                                     2
      น้อยที่สุด                                              1
•ตอนที่3 แบบสอบถามความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน 4ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และสังคม ด้านสติปัญญา และด้านคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาเขต อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
•การตอบแบบสอบถามตอนที่3 แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) ของลิเคอร์ท(Liker,1970:107-110)มี 5 ระดับ โดยกำหนดค่าแต่ละระดับ ดังนี้
ระดับความรู้ผู้ปกครองในการ
สร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย                            ระดับคะแนน
      มากที่สุด                                                                5
      มาก                                                                       4
      ปานกลาง                                                               3
      น้อย                                                                       2
      น้อยที่สุด                                                                1
ตอนที่4 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดในการสอบถามข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

การดำเนินการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ระดับชั้นอนุบาล1 ถึง อนุบาล 2 ปีการศึกษา 2553 ในสถานศึกษาเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 9 โรงเรียน ประชากรจำนวน 1,575 คน
  2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม เลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีนักเรียนตั้งแต่ 600 คนขึ้นไป จำนวน 9 โรงเรียน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มด้วยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการเปรียบเทียบตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie&Morgan,1970:608) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 306 คน
จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดที่เป็นสัดส่วน คือ สุ่มแบบแบ่งชั้น คือระดับชั้นอนุบาล1 และอนุบาล 2 และกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละระดับชั้นโดยการเทียบสัดส่วนจากจำนวนประชากรในแต่ละระดับชั้น และกำหนดกลุ่มตัวอย่างในแต่ละโรงเรียน จากนั้นกำหนดผู้ให้ข้อมูลแต่ละโรงเรียน โดยการจับฉลาก
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย
  - ตอนที่1 แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วยเพศ อาชีพ วุฒิการศึกษา และรายได้ โดยลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ(Checklist)
  -ตอนที่2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น 5 ด้าน คือ การฝึกอบรม การประชุมผู้ปกครอง การให้การปรึกษา ห้องสมุดสำหรับผู้ปกครองและการเยี่ยมบ้าน
-ตอนที่3 แบบสอบถามความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์และสังคม ด้านสติปัญญา และด้านคุณธรรมจริยธรรม
  -ตอนที่4 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดในการสอบถามข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

สรุปผลการวิจัย
ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
         ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง และมีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 10,000 บาท
การศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก ปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้
ด้านการฝึกอบรม    ภาพโดยรวมของการศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา ในด้านการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ด้านการฝึกอบรมเป็นรายประเด็น พบว่าที่มีค่าสูงสุด เช่น การสร้างวินัยให้กับเด็ก, การแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็ก ฯลฯ โดยครูเป็นผู้ให้ความรู้ในระดับมาก รองลงมาคือ โรงเรียนเคยมีการจัดการอบรมให้ความรู้แก่แก่ผู้ปกครองเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้
 ด้านการประชุมผู้ปกครอง      ภาพรวมโดยรวมของการศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา ในด้านการประชุมผู้ปกครอง เป็นรายประเด็น พบว่ามีค่าสูงสุด คือ โรงเรียนเคยมีการจัดการปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
รองลงมาคือโรงเรียนเคยจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครองเพื่อดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกัน
•ด้านการให้การศึกษา     ภาพโดยรวมของการศึกษาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา ในด้านการให้การปรึกษาโดยรวมกันอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยด้านการการปรึกษาเป็นรายประเด็น พบว่ามีค่าสูงสุด โรงเรียนได้ให้การปรึกษาเมื่อผู้ปกครองมีปัญหาเกี่ยวข้องกับตัวเด็กอยู่ในระดับมาก
ด้านห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง      ภาพโดยรวมของการศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในสถานศึกษา ในด้านห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยด้านห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง เป็นรายประเด็น พบว่าที่มีค่าสูงสุด คือโรงเรียนได้จัดมุมหนังสือสำหรับผู้ปกครองโดยมีการจัดเอกสาร แผ่นพับหรือจดหมายข่าวเพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือโรงเรียนได้มีการจัดสื่ออุปกรณ์, ของเล่น, หนังสือให้บริการ
ด้านการเยี่ยมบ้าน     ภาพโดยรวมของการศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา ในด้านการเยี่ยมบ้าน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยด้านดารเยี่ยมบ้านเป็นรายประเด็นพบว่าที่มีค่าสูงสุดได้เคยมีการเยี่ยมบ้านผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือโรงเรียนได้มีการจัดตารางเยี่ยมบ้านผู้ปกครองและกำหนดระยะเวลาการเยี่ยมบ้านหรือแจ้งวันเยี่ยมบ้านให้ทราบก่อนล่วงหน้าอยู่ในระดับปานกลาง

สรุปการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่าที่มีค่าสูงสุดคือการประชุมผุ้ปกครองอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ การฝึกอบรม อยู่ในระดับมากคือ การให้การปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ การเยี่ยมบ้านอยู่ในระดับปานกลาง และห้องสมุดสำหรับผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง


ส่งงานออกแบบข่าวสารประจำสัปดาห์








การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การนำเสนออ่านวิจัย ทำให้เราได้ศึกษางานวิจัยที่เราเลือกมา ทำให้เรามีความรู้เพิ่มมากขึ้น

ประเมินผล
ประเมินตนเอง  มีความพร้อมในการนำเสนอ
ประเมินเพื่อน ตั้งใจฟังการนำเสนอ
ประเมินอาจารย์  ให้ความรู้เพิ่มเติม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น