วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
(เวลา 08.30 น. - 11.30 น.)

ความรู้ที่ได้รับ





โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย

โครงการ แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  

โครงการ แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก


การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
    - วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
    - วิธีการสนทนากลุ่ม
    - วิธีอภิปรายกลุ่ม

    - วิธีการบรรยาย  

โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
    - แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
    - คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
    - หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
    - ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
    - จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่า” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน  โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ


โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่ 

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    - เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
    - ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
    - ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว

    - เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 
มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ “โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    - ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
    - ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
    - สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน

    - ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ

โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้นการบริการเฉพาะสำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
    โครงการเฮมสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    - สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
    - เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
    - ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ


โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่ คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ


โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ ปรัชญาในการทำงานคือ

     “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”


โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)

โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ

    นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”

อาจารย์ให้ดูวิดิโอเรื่องโครงการหนังสือเล่มแรกของประเทศไทย





คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ  เป้าหมายคือการให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญ เป็นแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต ผู้ปกครองจึงเป็นผู้ที่ต้องมีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก

2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ ผู้ปกครองบ้างท่านอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักโครงการต่างๆมากนัก ดังนั้นเราอาจจะมีการประชาสัมพันธ์ต่างๆ อาจจะเริ่มต้นจากคนใกล้ตัว เช่น ในกลุ่มเครือญาติของเรา 

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  1. พัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน เช่น แนะนำกิจกรรมที่พัฒนาเด็ก
         2. เรื่องการดูแล/สุขนิสัย เช่น เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ
         3. การปลูกฝังจริยธรรม เช่น การอ่านนิทานคุณธรรมให้เด็กฟัง
         4. การเสริมแรง/จูงใจเด็ก เช่น ชมหรือให้รางวัลเมื่อลูกแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์
         5. การใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การให้ความรู้ผู้ปกครองส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก คือ เมื่อผู้ปกครองมีความรู้/ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นผู้ปกครองก็จะนำความรู้ที่มีไปปรับใช้กับลูกซึ่งอาจทำให้ลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นได้

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ อาจจะทำเป็นแบบประเมินหรือแบบสอบถาม

การประยุกต์ใช้
สามารถแนะนำโครงการต่างๆแก่ผู้ปกครองได้ หรือนำแนวคิดวิธีการที่เราสนใจมาปรับใช้กับเด็กให้เกิดประโยชน์

ประเมินผล
ประเมินตนเอง:ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกเพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน:ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกเพิ่มเติม
ประเมินอาจารย์: มีสื่อการสอนที่หลากหลาย


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2559
( เวลา 08.30น. - 11.30 น. )


ความรู้ที่ได้รับ

าจารย์ให้เล่นเกมส์ที่ส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร

เกมส์สื่อความหมาย








เกมส์ทายคำ




เกมส์พรายกระซิบ



เกมส์ใคร ทำอะไร ที่ไหน เวลาใด อย่างไร กับใคร




ความหมายของการสื่อสาร
     การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 

ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ

5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

รูปแบบของการสื่อสาร







องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

     สื่อ:ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์  ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ

     สาร:คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ 

ประเภทของการสื่อสาร
อาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ   3 ประการ คือ
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
     -การสื่อสารทางเดียว  เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
     -การสื่อสารสองทาง  เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
     -การสื่อสารเชิงวัจนะ  การสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด ในการสื่อสาร
     -การสื่อสารเชิงอวัจนะ   ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
     -การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
     -การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
     -การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) 

ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
ออเออร์บาค (Auerbach,1968) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของผู้ปกครองไว้ดังนี้
• ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
•ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
•ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
•การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
•การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
•ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน

• การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง

ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
• เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
•เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
•มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
•เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
•เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
•ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน

•เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
-ความพร้อม 
-ความต้องการ
-อารมณ์และการปรับตัว 
-การจูงใจ 
-การเสริมแรง 
-ทัศนคติและความสนใจ 
-ความถนัด 



7 c กับการสื่อสารที่ดี
•Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
•Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
•Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
•Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
•Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
•Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง

•Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ

คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ   กระบวนการส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ  ผู้ปกครองรู้ความเป็นไปของลูก ทำให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจตรงกันทั้งในเรื่องการเรียนการสอน พฤติกรรมและพัฒนาการของลูก

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารต้องเป็นรูปแบบที่ครูสามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน เช่น รูปแบบของเบอร์โล

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ   ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
         •ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
         •ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
         •การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
         •การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
         •ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน

         • การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ -ความพร้อม 
        -ความต้องการ
        -อารมณ์และการปรับตัว 
        -การจูงใจ 
        -การเสริมแรง 
        -ทัศนคติและความสนใจ 
        -ความถนัด 

การประยุกต์ใช้
รู้ถึงความสำคัญของการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสาร และธรรมชาติการเรียนรุ้ของผู้ปกครองทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้และพิจารณาเมื่อเราต้องสื่อสารกับผู้ปกครองของเด็ก

ประเมินผล
ประเมินตนเอง:ตั้งใจเรียนจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน:สนุกสนานกับการเรียน/เล่นเกมส์ จดสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์:อาจารย์หาเกมส์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารมาให้เล่นทำให้เราสนุกสนาน อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี และยกตัวอย่างประกอบการสอน





วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2559
(เวลา 08.30 น. - 11.30 น.)



**งดการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดงานทางราชการ**


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2559
(เวลา 08.30 น. - 11.30 น.)






ความรู้ที่ได้รับ




ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
     การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
- การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
- การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม 

รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ฉันทนา แบ่งรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเป็น 4 ระดับ ดังนี้
    1. ระดับห้องเรียน
    2. ระดับโรงเรียน
    3. ระดับชุมชน
    4. ระดับมวลชน

แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ฉันทนา  ภาคบงกช (2531) ได้เสนอแนวทางในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
    1. สำรวจความสนใจ ความต้องการ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
    2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น   - เชิญวิทยากรมาบรรยาย  อภิปราย สาธิต
    - จัดห้องสมุดและศูนย์ของเล่นสำหรับเด็ก
    - จัดศูนย์แนะแนวผู้ปกครองเพื่อให้คำแนะนำ
    - จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง



แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

การประยุกต์ใช้
รู้วัตถุประสงค์ที่เราต้องให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองและรู้รูปแบบของการให้การศึกษาผู้ปกครองเราจะได้เลือกรูปแบบที่ดีและเหมาะสมในการให้ความรู้กับผู้ปกครอง

ประเมินผล
ประเมินตนเอง: จดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน: ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและมีการจดบันทึก
ประเมินอาจารย์: ยกตัวอย่างประกอบการสอน เต็มที่กับการสอน