บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
(เวลา 08.30 น. - 11.30 น.)
ความรู้ที่ได้รับ
โครงการ
การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการ
แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู
กระทรวงศึกษาธิการ
-
จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
-
ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
-
ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน
โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
-
มารดามีความพอใจในกิจกรรม
มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
-
เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
โครงการ
แม่สอนลูก
-
ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
-
เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน
ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy
Program ของประเทศอิสราเอล
-
เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น
ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
-
มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า
3 ปี
ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข
เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี
ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ
โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4
รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ
ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย
เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
-
แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
-
คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart
Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก
เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน
ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ
“รวมพลัง รักการอ่า” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน
โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ
สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ
โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท
(book
start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ
โครงการ
การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการ
การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง
เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น
จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี
โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล
การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน
ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี ค.ศ. 1930
สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง
โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง
สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา
โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
-
เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
-
ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
-
ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
-
เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
มีการจัดตั้ง
ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ
โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง
ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู”
(Parents
as Teachers Program) และ
“โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน”
(Home
Instruction for Preschool Youngsters Program) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
-
ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
-
สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
-
ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น
การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ
โครงการ
เฮดสตาร์ท (Head
Start)
เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ
3-5
ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย
และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้นการบริการเฉพาะสำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย
จิตใจและโภชนาการ พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
โครงการเฮมสตาร์ท
มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์
ดังนี้
-
สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
-
เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
-
ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ
โครงการ
โฮมสตาร์ท (Home
Start Program)
เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่
คือ เฮดสตาร์ท
เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก
และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส
โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
โครงการ
เพลย์เซ็นเตอร์
เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า
พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน
โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ
ปรัชญาในการทำงานคือ
“พ่อแม่คือครูคนแรก
และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
โครงการ
บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart
UK)
โครงการ บุ๊คสตาร์ท
หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี
พ.ศ. 2535 โดย
นางเวนดี้
คูลลิ่ง
ภายใต้ บุ๊คทรัสต์
ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต
ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
อาจารย์ให้ดูวิดิโอเรื่องโครงการหนังสือเล่มแรกของประเทศไทย
คำถามท้ายบท
1.
ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ เป้าหมายคือการให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญ เป็นแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต ผู้ปกครองจึงเป็นผู้ที่ต้องมีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก
2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
จงอธิบาย
ตอบ ผู้ปกครองบ้างท่านอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักโครงการต่างๆมากนัก ดังนั้นเราอาจจะมีการประชาสัมพันธ์ต่างๆ อาจจะเริ่มต้นจากคนใกล้ตัว เช่น ในกลุ่มเครือญาติของเรา
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก
มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ 1. พัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน เช่น แนะนำกิจกรรมที่พัฒนาเด็ก
2. เรื่องการดูแล/สุขนิสัย เช่น เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ
3. การปลูกฝังจริยธรรม เช่น การอ่านนิทานคุณธรรมให้เด็กฟัง
4. การเสริมแรง/จูงใจเด็ก เช่น ชมหรือให้รางวัลเมื่อลูกแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์
5. การใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว
4.
การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การให้ความรู้ผู้ปกครองส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก คือ เมื่อผู้ปกครองมีความรู้/ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นผู้ปกครองก็จะนำความรู้ที่มีไปปรับใช้กับลูกซึ่งอาจทำให้ลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นได้
5.
นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร
จงอธิบาย
ตอบ อาจจะทำเป็นแบบประเมินหรือแบบสอบถาม
การประยุกต์ใช้
สามารถแนะนำโครงการต่างๆแก่ผู้ปกครองได้ หรือนำแนวคิดวิธีการที่เราสนใจมาปรับใช้กับเด็กให้เกิดประโยชน์
ประเมินผล
ประเมินตนเอง:ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกเพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน:ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกเพิ่มเติม
ประเมินอาจารย์: มีสื่อการสอนที่หลากหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น